Highlights
สำหรับอัตราค่าโดยสายรถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไป รวมถึงยังมีบัตรโดยสารที่ใช้ได้แตกต่างกันอีกด้วย เช่น บัตรแรบบิท หรือบัตร MRT
ที่พักอาศัยใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าดีอย่างไร?
หากใครที่ต้องการเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน ย่อมต้องการเลือกที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกสบายเพื่อประหยัดเวลาบนท้องถนน แต่ในปัจจุบันที่การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าถือว่าสบายขึ้นอีกขั้น ฉะนั้น ผู้คนจึงหันมาสนใจเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดที่มีโลเคชั่นตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
ที่พักใกล้แนวรถไฟฟ้าดีอย่างไร ? นอกจากเพิ่มความสบายในการเดินทางแล้ว หากใครที่ต้องเสียค่าน้ำมันหลายพันบาทต่อเดือน หรือเสียค่าที่จอดรถในการไปทำธุระแต่ละครั้ง การใช้ขนสาธารณะจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะใกล้ได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายยิบย่อยอีกต่อไป
อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ล่าสุด 2567
เส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีการขยายเพิ่มเติมอย่างกว้างขวาง ทั้งรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและวางแผนเปิดให้บริการในอนาคต ในหัวข้อนี้มีสรุปสายรถไฟฟ้าทั้งหมดมีอะไรบ้าง ?
1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
หลายคนอาจไม่ทราบว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงมีการแบ่งเส้นทางการเดินรถออกเป็น 2 สาย คือ สีแดงเข้มและสีแดงอ่อน สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มมีทั้งหมด 10 สถานี เริ่มต้นจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ไปจนถึงสถานีรังสิต มีจุดเชื่อมกับสายสีแดงอ่อนและสายสีน้ำเงินที่สถานีกลางบางซื่อ ในอนาคตยังมีการวางแผนขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงไปสู่จังหวัดข้างเคียง อย่างปทุมธานี นครปฐม หรืออยุธยา โดยสถานีทั้งหมดของสายสีแดงเข้มที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน มีดังนี้
2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
สำหรับรถไฟฟ้าสีแดงอ่อนเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สถานี และเชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้มที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตมีแผนขยายเพื่อรองรับการเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้นจากทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
3. Airport Rail Link แอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์
เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมดของแอร์พอร์ตลิ้งค์มีทั้งหมด 8 สถานี เริ่มจากสถานีพญาไทไปยังสถานีสุวรรณภูมิ มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีมักกะสัน โดยสถานีทั้งหมดที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม
รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หรือหลายคนอาจรู้จักในชื่อรถไฟฟ้าสายสีลมมีทั้งหมด 14 สถานีด้วยกัน และเชื่อมต่อกับสายสีเขียวอ่อนที่สถานีสยาม โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท หรือรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนมีทั้งหมด 48 สถานี ถือเป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าที่มีสถานีมากที่สุด โดยผ่านพื้นที่ CBD ในกรุงเทพฯ ทั้งอโศก เพลินจิต หรือสยาม เป็นต้น และมีเส้นทางออกสู่จังหวัดข้างเคียงอย่างจังหวัดปทุมธานีและสมุทรปราการ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้มที่สถานีสยาม สายสีน้ำเงินที่สถานีอโศก และยังมีสายอื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออีกมากมาย โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 39 สถานี เชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้มที่สถานีสีลม สายสีเขียวอ่อนที่สถานีสุขุมวิท และเชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้มที่สถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นรถไฟฟ้าอีกหนึ่งสายที่เชื่อมต่อจากพื้นที่ปริมณฑลเข้าสู่ย่าน CBD ในกรุงเทพฯ นับเป็นสายหนึ่งที่สำคัญอย่างมากก็ว่าได้ โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีทั้งหมด 16 สถานี โดยเส้นทางจากสถานีเตาปูนไปยังสถานีคลองบางไผ่ เส้นทางรถไฟฟ้านี้ถือเป็นเส้นทางหลักที่เปิดให้บริการในจังหวัดนนทบุรีเพื่อเชื่อมเข้าสู่บริเวณใจกลางกรุงเทพฯ เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
8. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีทั้งหมด 23 สถานี โดยวิ่งจากสถานีลาดพร้าวไปยังสถานีสำโรง และเชื่อมต่อกับ Airport Link ที่สถานีมักกะสัน โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้
9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีทั้งหมด 30 สถานี โดยเส้นทางจากสถานีแครายไปยังสถานีมีนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ของเขตมีนบุรีในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี โดยมีแผนขยายเข้าสู่พื้นที่บริเวณเมืองทองธานี ผู้ที่จะเดินทางมาร่วมงานที่จัดบริเวณเมืองทองธานีในอนาคตก็จะมาได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สายสีแดงที่สถานีหลักสี่ และสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี โดยสถานีที่เปิดให้บริการมีดังนี้
10. รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นโครงการที่วางแผนไว้ว่าจะมี 17 สถานี โดยเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมไปยังสถานีแยกร่มเกล้า เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งมีก่อสร้างเส้นทางเสร็จครบ 100% แล้ว แต่คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ในปี พ.ศ. 2569 โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้
11. รถไฟฟ้าสายสีฟ้า
อีกหนึ่งโครงการรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รถไฟฟ้าสายสีฟ้ามีทั้งหมด 9 สถานี เริ่มจากสถานีประชาสงเคราะห์ไปยังสถานีช่องนนทรี เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่สถานีมักกะสันและเพชรบุรี อีกหนึ่งเส้นทางรถไฟฟ้าที่ครอบคลุม CBD ช่วงเพลินจิต ลุมพินี และช่องนนทรี เพราะเชื่อมต่อตั้งแต่ประชาสงเคราะห์จนถึงช่องนนทรี ซึ่งตอนแรกมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงปี พ.ศ. 2582 แต่อาจมีการเลื่อนออกไป โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้
12. รถไฟฟ้าสายสีเทา
รถไฟฟ้าสายสีเทามีการวางแผนการสร้างเบื้องต้นทั้งหมด 39 สถานี เริ่มเส้นทางจากสถานีวัชรพลไปยังสถานีท่าพระ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ วัชรพล-ทองหล่อ พระโขนง-พระราม 3 และ พระราม 3 -ท่าพระ ซึ่งตอนแรกมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงปี พ.ศ. 2585 แต่อาจมีการเลื่อนออกไป โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าล่าสุด
ทราบกันไปแล้วว่าเส้นทางรถไฟฟ้าแต่ละสายมีสถานีใดบ้าง ต่อมาเราจึงได้รวบรวมค่าโดยสารรถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ โดยขอยกตัวอย่างเส้นทางที่มีผู้ใช้งานมาก 3 สายดังต่อไปนี้
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง ตั้งแต่ 15 บาท ถึง 62 บาท ในระยะเส้นทางเดินรถสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน โดยค่าเดินทางดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมการเดินทางรถไฟฟ้าสายสีทอง สายสีเหลือง และสายสีชมพู หากเดินทางข้ามระบบจะมีค่าโดยสารเพิ่มเติม เมื่อรวมค่าเดินทางเบ็ดเสร็จค่าโดยสารจะมีอัตราสูงสุดที่ 107 บาท
นอกจากนี้ยังมีบัตรแรบบิท ( Rabbit Card) ที่สามารถเติมเงินเพื่อใช้ในการเดินทางและได้รับส่วนลดเพิ่มเติมในบางกรณี โดยบัตรนี้ใช้ได้กับรถไฟฟ้า BTS และร้านค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง ตั้งแต่ 17 บาท ถึง 45 บาท นอกจากนี้ยังมีบัตร MRT แบบเติมเงินที่ช่วยให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น และสามารถใช้เดินทางได้อย่างไม่ต้องกังวลเรื่องการพกเงินสด
ค่าโดยสาร Airport Rail Link
ค่าโดยสาร Airport Rail Link (ARL) มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง โดยมีค่าโดยสารอยู่ที่ 15 บาท ถึง 45 บาท การชำระเงินจะอยู่ในรูปแบบเงินสดและบัตรเติมเงินเท่านั้น
แนะนำ โครงการบ้าน-คอนโดน่าอยู่ เดินทางสะดวก ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า 2567
เราขอแนะนำโครงการที่พักอาศัยใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าจาก SC Asset เพื่อความสะดวกสบายที่เหนือกว่า